วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โครงการแก้มลิง

   "โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอก คลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืช โครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนักและส่งผลกระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณ กรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการกินอาหารของลิง หลังจากที่ลิงเคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้าง แล้วค่อย ๆ ดุน กล้วยมากินในภายหลัง เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน ให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิง สำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลอง สรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป
สำหรับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคัน กั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)


หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจารณา
๑. สถานที่ที่จะทำหน้ าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
"โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเลตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ ส่วน "โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ

โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนว พระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา


โครงการฝายคลองโผงโผง อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ตําบลปากล่อ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
 ที่ตั้งโครงการ
บ้านโผงโผง หมู่ที่ 8 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ประวัติโครงการ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร.1108/926 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณากรณี นายฮัมดุลบาซิม อาบูประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วน ตําบลปากล่อ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีได้ขอพระราชทานพระกรุณาให้ทางราชการสนับสนุนราษฏร หมู่ที่ 4,6,7,และ8 ตําบลปากล่อ และหมู่ที่ 5 ตําบลทุ่งพลา อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เพื่อช่วยเหลือราษฎร ซึ่งขาดแคลนน้ําสําหรับอุปโภค – บริโภคและทําการเกษตร
สํานักชลประทานที่ 12 ได้ให้เจ้าหน้าที่ได้รวมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่างๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฏรที่ประสบความเดือนร้อนได้ โดยการก่อสร้างฝายทดน้ํา จํานวน 1 แห่ง และก่อสร้างระบบท่อส่งน้ําพร้อมอาคารประกอบ
ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ้าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการ ที่ รล0005/7637 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2544
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือราษฏรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับ อุปโภค – บริโภค ช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค – บริโภค ได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปีสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ซึ่งราษฏรได้รับความเดือดร้อน 2 หมู่บ้าน คือ1. หมู่ 4,6,7,8, ตําบลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวนประมาณ 544 ครัวเรือน ราษฏรประมาณ 2,720 คน2. หมู่ 5 ตําบลทุ่งพลา อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 60 ครัวเรือน ราษฏรประมาณ 300 คน
รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งหัวงาน พิกัด 47 NQH 381 - 316 ระวาง 5222 III
- พื้นที่รับน้ํา ประมาณ 6.00 ตร.กม. ปริมาณฝนเฉลี่ย .227 มม.
ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 2.00 ม. จํานวน 1 แห่ง
- ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ (ท่อเหล็กอาบสังกะสี และท่อ PVC) ขนาด 0.15 ม. Ø 0.20 ม. Ø และ Ø 0.10 ม. พร้อมอาคารประกอบตามแนวท่อส่งน้ําความยาวท่อส่งน้ำรวม 10.200 ม.
ระยะเวลาดําเนินการ
ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2545
งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ 23,025,400 บาท
ประโยชน์ที่ได้รับ
เมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือราษฎร หมู่4,6,7,8, ตําบลปากล่อ อําเภอโคกพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวนประมาณ 544 ครัวเรือน ราษฎรประมาณ 2,700 คน และหมู่ 5ตําบลทุ่งพลา อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวนประชากร 60 ครัวเรือน ราษฏรประมาณ 300 คน ให้มีน้ำใช้อุปโภค – บริโภค ได้เพียงพอตลอดทั้งปี และสามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้
โครงการฝายคลองโผงโผง อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ตําบลปากล่อ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แห่งแรก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 อีกทั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture) แห่งหนึ่ง มีพื้นที่ดำเนินการจำนวน 1,895 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ฯ จำนวน 1,240 ไร่ และพื้นที่โครงการส่วนพระองค์เขาหินซ้อนฯ จำนวน 655 ไร่ ดำเนินการพัฒนาทางด้านการเกษตรอย่างสมบูรณ์แบบ โดยเน้นการปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของดินและน้ำให้มีความสมบูรณ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่แห่งนี้มีการตัดไม้ แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ทำให้ดินจืด และเสื่อมคุณภาพจนกลายเป็นดินทราย ในฤดูแล้วจะมีการชะล้าง เนื่องจากลมพัด (Wind erosion) ในฤดูฝนจะมีการชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ (Water erosion) ทำให้หน้าดินถูกทำลายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการฟื้นฟูสภาพของดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิชาการในหลายๆ ด้าน ประกอบกันเป็นการดำเนินการแก้ไขในลักษณะผสมผสานของหลายๆ หน่วยงานแบบบูรณาการ โดยดำเนินการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชแซม การป้องกันศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกไม้ผล การฟื้นฟูสภาพป่า การบำรุงพันธุ์ไม้เดิม ไม้มีค่าหายาก และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การจัดทำสวนสมุนไพร การรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าหายากในภาคตะวันออก การสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การสาธิตการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงาม ซึ่งราษฎรสามารถนำไปประกอบอาชีพเป็นรายได้เสริม นอกเหนือจากการทำการเกษตร รวมทั้งแนะนำส่งเสริมระบบสหกรณ์ให้แก่เกษตรกร การให้บริการสีข้าว ฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย อันจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงสมบูรณ์ต่อไป
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐาน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประกอบการเกษตรได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ กล่าวคือได้จัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สร้างสภาพป่าและไม้ยืนต้นในบริเวณโครงการและพื้นที่ข้างเคียงเป็นการปรับสภาพแวดล้อมและเพิ่มความชุ่มชื้นให้มากขึ้น สร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินซึ่งปัจจุบันพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้หญ้าแฝกในการดำเนินการดังกล่าว และปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นหลังจากนั้นได้ศึกษาหาเทคโนโลยีพัฒนาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยเน้นวิธีการผสมผสานเป็นการรักษาสมดุลธรรมชาติและประหยัด เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรเข้าศึกษาหาความรู้ นำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้ ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมศึกษาดูงานของผู้สนใจทั่วไป จากนั้นได้ขยายผลออกสู่หมู่บ้านบริเวณรอบศูนย์ให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ต้อนรับเพื่อนๆ..เปิดเทอมใหม่..1/2554

สวัสดีคะเพื่อนๆทุกคน
ดิฉันนางสาวญาณิกา   กลิ่นคง ชื่อเล่น  อั๋น
คบ.2 ภาษาไทย  คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาตร์